2007年7月15日日曜日



มหาวิทยาลัยรามคำแหง
มหาวิทยาลัยรามคำแหง (อังกฤษ: Ramkhamhaeng University) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มีการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีแบบตลาดวิชา กล่าวคือรับนักศึกษาไม่จำกัดจำนวน แต่มีการเรียนการสอนในชั้นเรียนเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยปกติ ซึ่งเป็นระบบเดียวกันกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในอดีต ตั้งอยู่บนถนนรามคำแหง กรุงเทพมหานคร



สารบัญ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 บนบริเวณที่ดินประมาณ 300 ไร่เศษ บนถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 กำหนดให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยแบบตลาดวิชา กล่าวคือ ให้เปิดรับสมัครบุคคลเข้าเป็นนักศึกษา โดยไม่จำกัดจำนวน และไม่มีการสอบคัดเลือกนับตั้งแต่ได้รับการสถาปนาขึ้น�! �นปี 2514 ทั้งนี้เพื่อแก้ไขการขาดแคลนสถานที่เรียนในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในขณะนั้น ต่อมาได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2541 ขึ้นใช้บังคับแทนกฎหมายฉบับเดิม
ในการตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มีผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2512 คือ นายประมวล กุลมาตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร สังกัดพรรคสหประชาไทย โดยในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังไม่ได้ระบุชื่อมหาวิทยาลัย และสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2512 โดยตั�! �งคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งมีพลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานกรรมาธิการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยละเอียด คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งกำหนดชื่อมหาวิทยาลัยในร่างพระราชบัญญัตินั้นว่า "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ..."
สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้อีกครั้งในวาระที่ 2 ซึ่งในการประชุม นายแคล้ว นรปติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น ได้เสนอให้เปลี่ยนชื่อเป็น ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง และสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติเห็นชอบ และวุฒิสภาได้เห็นชอบให้นำ "ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ..." ไปดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธ�! �รมนูญ เพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2513 หลังจากนั้นคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมเปิดมหาวิทยาลัยรามคำแหงจำนวน 8 คน มี นายศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ (ต่อมาเป็นอธิการบดีคนแรก) เป็นประธาน และ นายจิรโชค (บรรพต) วีระสัย (ต่อมาเป็นคณบดีคณะรัฐศาสตร์คนแรก)เป็นเลขานุการ ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้! าฯ ให้ประกาศใช้ร่างพระรา ชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ... เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514
ในระยะเริ่มแรกคณะรัฐมนตรีได้อนุญาตให้ใช้อาคารสถานที่แสดงสินค้านานาชาติ ที่ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร เป็นที่ตั้งชั่วคราวจนกระทั่งเดือนตุลาคม พ.ศ. 2515 จึงได้อนุญาตให้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งถาวร และได้มีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สถานที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2515 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้�! �อยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่นแรก ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 ซึ่งถือว่าเป็นวันประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้ วันที่ 26 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยรามคำแหง
มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เปิดรับสมัครนักศึกษารุ่นแรกในปีพ.ศ. 2514 ซึ่งในครั้งแรกเปิดสอนใน 4 คณะ คือ คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ โดยมีผู้สนใจสมัครเป็นนักศึกษาในครั้งแรกจำนวน 37,198 คน ต่อมาในพ.ศ. 2517 ได้เปิดเพิ่มอีกสามคณะคือ คณะวิทยาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ กระทั่งในปี 2540 ได้เปิดสอนคณะวิศวกรรมศาสตร์ เนื่องจากมห�! �วิทยาลัยรามคำแหงมีผู้สนใจเข้าศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก จนสถานที่เรียนที่หัวหมากเริ่มแออัด มหาวิทยาลัยจึงได้เปิดวิทยาเขตรามคำแหง 2 หรือวิทยาเขตบางนา ขึ้นในปีพ.ศ. 2527 ที่ถนนบางนา-ตราด กม.8 แขวงวัดดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ บนเนื้อที่ 150 ไร่เศษ โดยใช้เป็นที่เรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มาจนถึงปัจจุบัน
นับแต่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหงจนถึงปัจจุบันได้มีผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีทั้งสิ้น 8 ท่าน ได้แก่ 1.ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ ผาสุขนิรันต์ 2.ศาสตราจารย์ไพบูลย์ สุวรรณโพธิ์ศรี 3.ศาสตราจารย์กำธร พันธุลาภ 4.รองศาสตราจารย์ ดร.อภิรมย์ ณ นคร 5.รองศาสตราจารย์ ดร.สุขุม นวลสกุล 6.รองศาสตราจารย์ ดร.ธรรมนูญ โสภารัตน์ 7.รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล และ 8.ศาสตราจารย์ประจำ รั! งสรรค์ แสงสุข เป็นอธิการบดีคนปัจจุบัน
ด้วยความเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชา ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกวิธีเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นของแต่ละบุคคล จึงจัดให้มีการบรรยายในชั้นเรียน สำหรับผู้ที่จะเข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน และจัดให้มีสื่อการสอนทางไกลเพื่อศึกษาด้วยตนเอง เช่น ตำราเรียน การบรรยายผ่านวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนอินเทอ! ร์เน็ต เพื่อให้นักศึกษาที่มีภาระการงาน หรืออยู่ในท้องถิ่นห่างไกลไม่สามารถเดินทางมาเรียนอย่างสม่ำเสมอได้ อย่างไรก็ตาม ในบางสาขาวิชาที่ต้องมีการฝึกปฏิบัติหรือจำเป็นต้องศึกษาจากผู้สอนอย่างใกล้ชิด มหาวิทยาลัยหรือภาควิชาอาจกำหนดให้นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียน โดยเฉพาะคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงคณะอื่น ๆ ในบางรายวิชา
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีกระบวนวิชาที่เปิดสอน ในระดับปริญญาตรีประมาณ 1,900 กระบวนวิชา ระดับปริญญาโท 130 กระบวนวิชา จัดการสอนในหลักสูตรระดับอนุปริญญา 23 สาขาวิชา ระดับปริญญาตรี 60 สาขาวิชา ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 สาขาวิชาระดับปริญญาโท 30 สาขาวิชา โดยมีคณะวิชาที่รับผิดชอบ 8 คณะ และหน่วยงานเทียบเท่าคณะรับผิดชอบการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาอีก 1 หน่วยงาน รว! มทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรปริญญาเอก และหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ



ประวัติ
พระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

สุพรรณิการ์ ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ตราประจำมหาวิทยาลัย




พระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ขณะนี้ปลูกไว้บริเวณหน้าอาคาร หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2542 สุพรรณิการ์มีถิ่นกำเนิดในอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาหิมาลัย และเป็นไม้พื้นเมืองของพม่าด้วย ในศรีลังกามักปลูกบริเวณพระอุโบสถ เป็นดอกไม้บูชาพระ ในเมืองไทยทา! งเหนือ เรียกว่า ฝ้ายคำ นำเข้ามาประเทศไทยกว่า 50 ปีมาแล้ว


มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
เป็นพระรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (ศิลาจารึกหลักที่ 1) จารึกนี้พบเมื่อ พ.ศ. 2376 ณ เนินปราสาท เมืองเก่าสุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงผนวชเป็นผู้ค้นพบ เป็นจารึกหลักแรกที่ใช้ภาษาไทยและตัวอักษรไทย มีลักษณะเป็นแท่นหินรูปสี่เหลี่ยม ยอดกลมมน สูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร หนา 35 เซนติเม! ตร เป็นหินชนวนสีเขียวมีจารึกทั้ง 4 ด้าน ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร



ตราประจำมหาวิทยาลัย
"สีน้ำเงิน-ทอง" ความหมาย สีน้ำเงิน เป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ ส่วน สีทอง เป็นเครื่องหมายของความอุดมสมบูรณ์และเจริญรุ่งเรือง



สีประจำมหาวิทยาลัย

"อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"
"บัณฑิตรามฯ ต้องมีความรู้คู่คุณธรรม"
"รู้จักอภัย ตั้งใจศึกษา บูชาพ่อขุน สนองคุณชาติ "
"เปลวเทียนให้แสง รามคำแหงให้ทาง"

คำขวัญประจำมหาวิทยาลัย
รามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชาที่มีนักศึกษามากที่สุดในโลก รับนักศึกษาโดยไม่จำกัดจำนวน และไม่ต้องสอบคัดเลือก จึงเป็นที่รวมของคนทุกประเภท ถ้าจะเปรียบกับน้ำ ก็มีทั้งน้ำสะอาด น้ำธรรมดา และน้ำไม่สะอาด มหาวิทยาลัยรามคำแหงเปรียบเสมือนเครื่องกรองน้ำขนาดใหญ่ ที่ทำหน้าที่กรองน้ำใสสะอาดออกไปให้สังคมได้ดื่มกินกันต่อไป มหาวิทยาลัยจึงภาคภูมิใจกับก�! ��รทำหน้าที่นี้มาตลอดเวลากว่า 30 ปี



ลักษณะเฉพาะของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
มหาวิทยาลัยรามคำแหงเปิดสอนในหลายสาขาวิชา ปัจจุบันมีคณะดังนี้

คณะนิติศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจ
คณะมนุษยศาสตร์
คณะศึกษาศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์
คณะรัฐศาสตร์
คณะเศรษฐศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณะเทคโนโลยี-สื่อสารมวลชน
คณะศิลปกรรมศาสตร์

หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับทางมหาวิทยาลัย

เว็บชุมชนนักศึกษา
Interner Radio & TV
ชมรมศิลปะและการแสดง

0 件のコメント:

易赚 28cash