2007年8月31日金曜日


ฝีดาษ (Smallpox) ไข้ทรพิษ หรือ ไข้หัว เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจาก poxvirus (Variolar) มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว และมีอาการทั่วไปรุนแรง โรคนี้ระบาดในประเทศ อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถานและเอธิโอเปียเมื่อปี พ.ศ. 2519 สำหรับประเทศไทยมีการบันทึกไว้ว่าระบาดครั้งสุดท้ายปี พ.ศ. 2504 องค์การอนามัยโลกได้เลิกฉีดวัคซีนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 แต่ที่มีความกังวลว่าจะมีการนำเชื้อนี้มาใช้ในสงคราม โดยประเทศรัสเซียได้มีการพัฒนาเชื้อชนิดนี้ไว้ใช้ในสงคราม

ประวัติการระบาด
เกิดจาก ดีเอ็นเอไวรัส (DNA virus) เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษมี 2 ชนิดคือ variolar major ทำให้เกิดโรคฝีดาษซึ่งมีอาการรุนแรงและมีอัตราการตายสูงประมาณ1ใน3 และvariolar minor ทำให้เกิดโรค alastrim ซึ่งอาการไม่รุนแรงเท่า และอัตราการตายต่ำ เชื้ออยู่ในสะเก็ดได้เป็นปี เชื้อถูกฆ่าตายที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที

ไข้ทรพิษ สาเหตุของโรค
เชื้อไวรัสฝีดาษ (Variolar) นี้สามารถแพร่กระจายไปในอากาศ จากละอองสิ่งคัดหลั่งจากคนที่เป็นโรค เช่น น้ำมูก, น้ำลาย หรือจากการสัมผัสกับผิวหนังที่มีแผลฝีดาษ เชื้อนี้มีความคงทนต่อสภาพอากาศ สามารถแพร่ได้ไม่ว่าจะอากาศร้อนหรือหนาว และสามารถติดต่อจากคนไปสู่คนได้โดยง่าย

การแพร่กระจาย

ระยะฟักตัว

อาการเริ่มแรก เริ่มด้วยปวดศีรษะ สะท้าน ปวดหลัง ปวดตามกล้ามเนื้อแขนขา ไข้จะขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว สูงไดถึง 41-41.5องศา ในเด็กจะมีอาเจียน ชัก และหมดสติ ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีผื่นแดงเกิดขึ้นใน 2 วันแรก ผื่นมักจะขึ้นบริเวณแขนหรือขา
ระยะออกผื่น ประมาณวันที่ 3 หลังมีไข้ ผื่นที่แท้จริงของฝีดาษจะเริ่มปรากฏขึ้นจะเริ่มที่หน้าหน้า แล้วไปที่แขน หลัง และขา ผื่นมักเป็นมากบริเวณที่ผิวหนังตึง เช่นที่ข้อมือ โหนกแก้ม สะบัก เป็นต้น ผื่นจะขึ้นเต็มที่ภายในเวลา 2 วัน ไข้จะเริ่มลงในวันที่ 2-3 หลังผื่นขึ้น และอาการต่างๆจะดีขึ้น ลักษณะผื่น จะเริ่มเป็นผื่นขนาดหัวเข็มหมุด และโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในวันที่2 และกลายเป็นตุ่มน้ำในวันที่ 3 ใส ในวันที่ 5 จะเป็นตุ่มน้ำขุ่น การเปลี่ยนแปลงของผื่นจะเป็นไปพร้อมกันทั้งตัว ในวันที่ 8 ผื่นจะเริ่มแห้งโดยเริ่มที่หน้าก่อน ผื่นจะกลายเป็นสะเก็ดในวันที่12-13
ระยะติดต่อตั้งแต่ตอนที่เริ่มมีอาการ และช่วงสัปดาห์แรก ที่จะเป็นช่วงที่มีโอกาสแพร่เชื้อได้ง่ายที่สุด ไปจนถึงตอนที่แผลแห้งเป็นสะเก็ดแล้ว อาการ

ผิวหนัง อาจจะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม เมื่อหายแล้วจะมีแผลลึก
ระบบทางเดินหายใจ เกิดการอักเสบที่กล่องเสียง ทำให้กล่องเสียงบวม เกิดปอดบวมได้บ่อย
กระดูก เกิดการอักเสบของกระดูกจากเชื้อไวรัสได้บ่อย มักพบในวันที่10-12 ของโรค ในเด็กมักจะเป็นรุนแรงและมีการทำลายของกระดูกและข้อ
ตา เกิดเยื่อบุตาอักเสบ และการบวมของหนังตา
ระบบประสาทส่วนกลาง เกิดการอักเสบของสมองในระยะท้ายของโรค โรคแทรกซ้อน
โรคฝีดาษหรือ ไข้ทรพิษนี้ มีอัตราการตายสูงประมาณ 30 % และต้องทำการแยกผู้ป่วย จากคนอื่น เนื่องจากสามารถติดต่อ แพร่ให้แก่คนอื่นๆ ได้ง่ายมาก และเสื้อผ้าของใช้ของผู้ป่วยจะต้องได้รับการทำความสะอาดให้ปลอดเชื้อโดยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือการต้มนึ่งด้วยความร้อน เนื่องจากอาจเป็นตัวกลางของการแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่นๆได้

ความเสี่ยงของโรค

การวินิจฉัยโรคอาศัยทั้งประวัติและการตรวจร่างกาย
ลักษณะทางคลินิกและระบาดวิทยา ในรายที่อาการตรงไปตรงมา
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การวินิจฉัยทางไวรัสวิทยา การวินิจฉัยโรค

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนไข้ทรพิษให้ใช้รักษา เนื่องจากได้มีการยกเลิกการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 และเหลือเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่ยังมีการเก็บวัคซีน และเชื้อไข้ทรพิษไว้ใช้ในการสงคราม ซึ่งได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา, รัสเซีย
ต้องแยกนอนโรงพยาบาลที่รับเฉพาะโรคติดต่อ
การรักษาประคับประคองและรักษาตามอาการ

  1. ให้ผู้ป่วยนอนพักในที่นอนที่สะอาด และทำความสะอาดที่นอนบ่อยๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย
    แก้ไขภาวะขาดน้ำและความผิดปกติของเกลือแร่
    ระวังรอยโรคที่ปากและตา โดยทำความสะอาดอวัยวะทั้งสองบ่อยๆ
    ไม่ควรอาบน้ำหรือใช้น้ำยาใดๆทาเคลือบผิวหนัง การรักษาโรค

    การป้องกัน
    วัคซีนทำจากไวรัสชื่อ vaccinia เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในวัวที่ยังมีชีวิตแต่ทำให้อ่อนแรง เชื้ออาจะกระจายจากตำแหน่งที่ฉีดวัคซีนไปยังตำแหน่งอื่นได้ ต้องระวังการรักษาความสะอาด การปลูกฝีสามารถป้องกันโรคฝีดาษและค่อยข้างปลอดภัย แต่อาจจะมีผลข้างเคียงตั้งแต่น้อยจนมาก หลังการฉีดวัคซีนจะมีภูมิอยู่ได้ 3-5 ปีหากได้รับการกระตุ้นภูมิจะอยู่นานขึ้น การปลูกฝีจะใช้เข็มซึ่งมีเชื้อโรคอยู่ ทำให้ผิวหนังเกิดแผลเชื้อจะเข้าสู่แผล

    การปลูกฝี

    แขนที่ได้รับการปลูกฝีจะแดง บวม และมีอาการปวด
    ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้โต
    เป็นไข้ต่ำๆ ถึงเป็นไข้สูงถ้าแพ้มาก
    ผลข้างเคียงที่รุนแรง พบได้ 1000 รายใน 1000000 ราย
    ผื่นอาจจะลามจากบริเวณที่ฉีดยาไปที่อื่น เช่น ตา หน้า อวัยวะเพศ อาจจะเกิดผื่นขึ้นทั้งตัวเนื่องจากฉีดวัคซีนเข้ากระแสเลือด
    แพ้วัคซีนทำให้เกิดแพ้วัคซีน ผลข้างเคียง

    ฉีดวัคซีนในผู้ป่วยที่เป็น eczema ทำให้มีการกระจายของผื่นทั่วร่างกาย Eczema vaccinatum
    หลังการปลูกฝีเกิดการติดเชื้อของผิวหนัง
    สมองอักเสบ Postvaccinal encephalitis ผลข้างเคียงที่อาจจะทำให้เสียชีวิต

    ผู้ป่วยที่เป็นผื่นแพ้ eczema,atropic eczema
    ผู้ที่มีโรคผิวหนังเช่น แผลไฟไหม้ งูสวัด เรื้อนกวาง
    คนที่ตั้งครรภ์, กำลังให้นม
    เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี
    ผู้ที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง,โรคเอดส์ หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันเช่นผู้ที่เปลี่ยนไต หรือได้รับยาsteroid
    ผู้ป่วยแพ้วัคซีน ผู้ที่ไม่ควรได้รับการปลูกฝี

    ใช้ผ้าหรือเทปปิดแผลเพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อ แล้วใช้เทปกันน้ำปิดแผล
    สามารถใส่เสื้อเพื่อป้องกันเชื้อแพร่สู่คนอื่น
    เปลี่ยนผ้าปิดแผลทุก 2 วัน
    ล้างมือด้วยสบู่หลังจากทำความสะอาดแผล
    ทิ้งผ้าทำแผลลงในถุงแยกต่างหากแล้วน้ำไปเผา
    เสื้อผ้าที่ใส่นำไปต้มและซัก
    ข้อห้าม

    1. ห้ามใช้เทปที่ไม่สามารถระบายอากาศ
      อย่าแกะสะเก็ดแผล
      อย่าทายาใดๆทั้งสิ้น การสร้างวัคซีน
      การเก็บรักษาเชื้อโรคฝีดาษ ในด้านการแพทย์ยังเก็บเชื้อฝีดาษไว้ที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Center for Diseases Control and Prevention-CDC) ที่เมืองแอตแลนตาในสหรัฐอเมริกา และที่ Institute for Viral Preparations ที่มอสโกในรัสเซีย และนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษารหัสพันธุกรรม (genome) ของไวรัสฝีดาษแล้วอย่างสมบูรณ์ แต่สหรัฐอเมริกา กับรัสเซียก็ยังไม่ได้กำจัดเชื้อฝีดาษสองชุดสุดท้ายนี้ให้หมดไปจากโลก เพราะนักวิทยาศาสตร์มีความเห็นแตกแยกเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายที่ต้องการกำจัดฝีดาษให้หมดโลก ซึ่งให้เหตุผลว่าเพื่อไม่ให้โรคร้ายนี้ระบาดอีกต่อไป ส่วนฝ่ายที่ต้องการเก็บรักษาเชื้อก็ให้เหตุผลว่า การฆ่าฝีดาษตัวสุดท้ายจะเป็นการฆ่าสิ่งมีชีวิตอื่นอย่างจงใจให้สูญพันธุ์ ซึ่งเราไม่มีสิทธิ์ และขณะนี้โลกมีโรคอีกหลายโรคที่มีฤทธิ์ร้ายพอ ๆ กับฝีดาษ ฉะนั้นนักวิทยาศาสตร์อาจใช้เชื้อฝีดาษที่มีอยู่น้อยนิดนี้ พัฒนาวัคซีนต่อสู้โรคที่ร้ายเหล่านั้นได้ ดังนั้นถ้าเราทำลายเชื้อจนหมดสิ้น เราก็จะไม่มีเชื้อโรคอะไรจะศึกษา
      ด้วยเหตุนี้ คำประกาศขององค์การอนามัยโลกที่เคยแถลงว่า จะกำจัดฝีดาษให้หมดโลกภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2542 จึงต้องเลื่อนออกไปอีกครั้งหนึ่ง และเมื่อเกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 คณะผู้บริหารขององค์การอนามัยโลกจึงได้จัดประชุมกันเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2545 และได้ลงมติให้ทั้งอเมริกาและรัสเซียเก็บเชื้อฝีดาษให้นักวิทยาศาสตร์วิจัยต่อ เพราะเกรงว่าถ้าผู้ก่อการร้ายใช้ฝีดาษ (ที่สังเคราะห์ได้) เป็นอาวุธชีวภาพ มนุษยชาติจะเป็นอันตราย ดังนั้นการมีเชื้อฝีดาษไว้เพื่อพัฒนาวัคซีนป้องกัน จึงเป็นเรื่องจำเป็น และองค์การอนามัยโลกได้ขอให้นักวิจัยศึกษาไวรัสฝีดาษให้สมบูรณ์ที่สุดและมากที่สุด เพื่อจะได้ข้อมูลมาทบทวนการตัดสินใจเก็บ-ทำลายฝีดาษในอีก 2-3 ปีข้างหน้า

0 件のコメント:

易赚 28cash