2007年9月27日木曜日
พระเจ้าเม็งรายมหาราช หรือ พ่อขุนเม็งราย หรือ พญามังราย ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา โดยทรงย้ายเมืองหลวงจากเมืองเชียงแสน มาสู่เมืองเชียงราย และในที่สุดก็ทรงตั้งเมืองเวียงพิงค์ หรือเชียงใหม่เป็นราชธานี
การศึกษา
เมื่อพระชนมายุได้ 20 ชันษา พระเจ้าลาวเม็งสวรรคต พญามังรายเสวยราชสมบัติปกครองเมืองหิรัญนครเงินยางสืบต่อมา นับเป็นราชกาลที่ 25 แห่งราชวงศ์ลวจังกราช เมื่อพระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติแล้วก็ทรงพระราชดำริว่า แว่นแคว้นโยนก ประเทศนี้ มีท้าวพระยาหัวเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นเชื้อวงศ์ของปู่เจ้าลาวจก (ลวจังกราช) ต่างก็ปกครองอย่างสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกประการหนึ่งบ้านเมืองใด หากมีผู้เป็นใหญ่ปกครองบ้านเมืองมากเจ้าหลายนายก็มักจะสร้างความทุกข์ยากให้แก่ ไพร่บ้านพลเมืองของตน และถ้าหากมีศัตรูต่างชาติเข้าโจมตีก็อาจจะเสียเอกราชของชนชาติไทยได้โดยง่าย
ฉะนั้นเพื่อความเป็นปึกแผ่นของบ้านเมือง พญามังรายจึงมีพระประสงค์ที่จะรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วิธีดำเนินตามนโยบายก็คือ แต่งพระราชสาสน์ไปถึงบรรดาหัวเมืองต่างๆ ให้เข้ามายอมอ่อนน้อมในบรมโพธิสมภารของพระองค์เสียแต่ โดยดีหาไม่แล้วพระองค์จะทรงยกกองทัพไปปราบปราม
ต่อมาพระองค์ทรงกรีฑาทัพเข้าตีเมืองพม่า แต่ด้วยเกรงในพระราชอำนาจ จึงถวายพระนางปายโคเป็นพระมเหสี เมื่อพระนางอั้วมิ่งเวียงไชยทราบก็ทรงสลดพระทัย เนื่องจากทรงระลึกได้ว่าพญามังรายทรงผิดคำสาบาน ที่พระองค์ทรงสาบาน ในเมื่อประทับ อยู่ที่เชียงแสนว่า จะมีมเหสีเพียง พระองค์เดียว พระนางจึงสละพระองค์ออกจากพระราชวัง ออกบวชชี ซึ่งเชื่อกันว่า ต่อมาบริเวณที่พระนางไปบวชนั้น เป็น เวียงกุมกาม
พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อทรงเสด็จออกตลาด โดยมี อสุนีบาตต้องพระองค์สิ้นพระชนม์ เชื่อกันว่าเป็นปาฏิหารย์ของ พระนางอั้วมิ่งเวียงไชย
อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง ศิลปะและวัฒนธรรมเป็นที่ยอมรับของอาณาจักรข้างเคียง พญามังรายทรงเป็นปฐมวงศ์กษัตริย์ราชวงศ์มังราย มีกษัตริย์สืบเชื้อสายถึง 18 พระองค์ จนถึง พ.ศ. 2101 ล้านนาสูญเสียความเป็น เอกราชให้แก่พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์แห่งพม่า
พ.ศ. 1805 พญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงรายโดยการก่อกำแพงเมืองโอบเอาดอยจอมทองไว้ท่ามกลางเมือง ต่อมาตีได้เมืองของ ชาวลัวะคือ ม้งคุมม้งเคียนแล้วขนานนามเมืองใหม่ว่า เมืองเชียงตุง
พ.ศ. 1818 ขณะที่ประทับที่เมืองฝาง ซึ่งเป็นเมืองที่สร้างมาแต่ครั้งพระเจ้าลวจังกราช เมืองฝางมีอาณาเขตติดต่อกับอาณาจักรหริภุญชัย ของพญายีบา พญามังรายทรงทราบเรื่องราวของความเจริญรุ่งเรือง และความอุดมสมบูรณ์ของเมืองหริภุญชัย พระองค์ทรงมอบ ให้อ้ายฟ้าขุนนางเชื้อสายลัวะเป็นผู้รับอาสาเข้าไปเป็นไส้ศึกทำกลอุบายให้พญายีบามาหลงเชื่อ และทำให้ชาวเมืองหริภุญชัยเกลียดชัง พญายีบา พญามังรายทรงมุ่งมั่นที่จะขยายพระราชอำนาจเหนือดินแดนลุ่มแม่น้ำปิงตอนบนให้ได้ จึงมอบเมือง เชียงรายให้แก่เจ้าขุน เครื่องปกครอง ส่วนพระองค์มาประทับที่เมืองฝาง
พ.ศ. 1824 อ้ายฟ้าสามารถทำการได้สำเร็จ โดยหลอกให้พญายีบาเดินทางไปขอกำลังพลจากพญาเบิกเจ้าเมืองเขลางค์นคร พญามังรายจึงสามารถเข้าเมืองหริภุญชัยได้พระองค์ทรงมอบเมืองหริภุญชัยให้อ้ายฟ้าปกครอง ส่วนพระองค์ได้มาสร้างเมืองขึ้นใหม่ซึ่ง อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือให้ชื่อว่า เมืองกุมกาม หรือเวียงกุมกาม ต่อมาพญามังรายทอดพระเนตรชัยภูมิระหว่างดอยสุเทพ ด้านตะวันตกกับแม่น้ำปิง ด้านตะวันออก ทรงพอพระทัยจึงเชิญพระสหาย คือ พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) และพญางำเมือง แห่งเมืองพะเยา มาร่วมปรึกษาหา รือการสร้างเมืองแห่งใหม่ให้นามว่า เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 1839 เรียกสั้นๆ ว่า นครเชียงใหม่ พญามังรายได้ย้ายเมืองหลวง จากเวียงกุมกามสถาปนาเมืองใหม่แห่งนี้ให้เป็นศูนย์กลางการปกครอง ของอาณาจักรล้านนามีอำนาจเหนือ ดินแดนลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำกกถึงแม่น้ำโขงตอนกลางจนถึงหัวเมืองไทยใหญ่ (เงี้ยว) 11 หัวเมืองลุ่มแม่น้ำสาละวิน
登録:
コメントの投稿 (Atom)
0 件のコメント:
コメントを投稿