2007年9月5日水曜日
ในประเทศไทย รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น เป็นรางวัลเพื่อเชิดชูเกียรตินักวิทยาศาสตร์ไทยที่มีผลงานดีเด่น โดยจะประกาศรางวัลในต้นเดือนสิงหาคมของทุกปี และมอบรางวัลในวันที่ 18 สิงหาคม ซึ่งเป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" รางวัลนี้สนับสนุนโดย มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
รางวัลนี้ริเริ่มโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ไทยที่มีความห่วงใยต่อสภาวการณ์ที่วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ซึ่งเป็นเสมือนเสาหลักสำหรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ไม่ได้รับความสนใจและสนับสนุนเท่าที่ควรจากผู้บริหารและประชาชนทั่วไปในขณะนั้น เยาวชนไทยมีความสนใจมากกว่าในวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เช่น วิทยาศาสตร์การแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ ทั้งที่ประเทศไทยมีนักวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่มีศักยภาพสูงอยู่ไม่น้อย และหากได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง จะสามารถส่งต่อผลงานเพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ต่อไปได้ จึงได้เกิดความคิดที่จะรณรงค์ให้คนไทยตื่นตัวและภูมิใจในนักวิทยาศาสตร์ไทย เป็นที่มาของการจัดมอบรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี
นอกจากรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นแล้ว ทางมูลนิธิฯ ยังจัดมอบ รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และ รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ อีกด้วย
รายชื่อนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น เรียงตามปี
ศ. ดร. วิรุฬห์ สายคณิต นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2525 สาขา ฟิสิกส์
ปริญญาตรี สาขาฟิสิกส์ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จาก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาเอก สาขาฟิสิกส์ทฤษฎี จาก Institute of Theoretical Physics, Gothenburg ประเทศสวีเดน
สถานที่ทำงาน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2525
ศ. นพ. ประเวศ วะสี นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2526 สาขา ชีววิทยา (พันธุศาสตร์)
ปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญาเอก ด้านโลหิตวิทยา จาก มหาวิทยาลัยโคโลราโด สหรัฐอเมริกา
สถานที่ทำงาน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2526
ศ. ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2527 สาขา ชีวเคมี
ศ. ดร. ม.ร.ว. พุฒิพงศ์ วรวุฒิ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2527 สาขา สรีรวิทยาการสืบพันธุ์
ปริญญาตรี สาขาเคมี (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จาก มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร
ปริญญาเอก ด้านเคมีอินทรีย์ จาก มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สหราชอาณาจักร
สถานที่ทำงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญาตรี สาขาชีววิทยา จาก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาเอก สาขาชีววิทยา จาก สถาบันวิทยาศาสตร์ไวสซ์มัน ประเทศอิสราเอล
สถานที่ทำงาน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2527
ศ. ดร. สกล พันธุ์ยิ้ม นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2528 สาขา ชีวเคมี (พันธุวิศวกรรม)
ปริญญาตรี ด้านชีวเคมี จาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา
ปริญญาเอก ด้านชีวเคมี จาก มหาวิทยาลัยไอโอวา ไอโอวาซิตี้ สหรัฐอเมริกา
สถานที่ทำงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2528
ศ. ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2529 สาขา เคมี
ปริญญาตรี สาขาเคมี จาก มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
ปริญญาเอก สาขาเคมีอินทรียเคมี จาก มหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ สหราชอาณาจักร
สถานที่ทำงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2529
ศ. ดร. สุทัศน์ ยกส้าน นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2530 สาขา ฟิสิกส์ทฤษฎี
ปริญญาตรี สาขาฟิสิกส์ (เกียรตินิยม) จาก อิมพีเรียลคอลเลจ มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร
ปริญญาเอก ด้านฟิสิกส์ของแข็งภาคทฤษฎี จาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
สถานที่ทำงาน พ.ศ. 2530
ศ. ดร. สถิตย์ สิริสิงห นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2531 สาขา จุลชีววิทยา
ปริญญาตรี ด้านอักษรศาสตร์ (เกียรตินิยม) และด้านวิทยาศาสตร์ (เกียรตินิยม) จาก แจ็คสันวิลล์สเตทคอลเลจ
ปริญญาเอก ด้านจุลชีววิทยา สาขาอิมมิวโนวิทยา จาก มหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ สหรัฐอเมริกา
สถานที่ทำงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2531
ศ. ดร. ถาวร วัชราภัย นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2532 สาขา พฤกษศาสตร์
ปริญญาตรี ด้านเกษตรศาสตร์ สาขา ไม้ดอกไม้ประดับ จาก มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์
ปริญญาเอก ด้านพฤกษศาสตร์ สาขา เซลล์พันธุศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์
สถานที่ทำงาน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2532
ศ. ดร. วิสุทธิ์ ใบไม้ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2533 สาขา ชีววิทยา(พันธุศาสตร์)
รศ. สดศรี ไทยทอง นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2533 สาขา สัตววิทยา
ปริญญาตรี สาขา สัตววิทยา (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จาก มหาวิทยาลัยควีนสแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย
ปริญญาเอก ด้านพันธุศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยควีนสแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย
สถานที่ทำงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญาตรี สาขาสัตววิทยา (เกียรตินิยมอันดับสอง) จาก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระดับปริญญาโท ด้านปาราสิตวิทยา จาก มหาวิทยาลัยมหิดล
สถานที่ทำงาน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2533
ศ. ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2534 สาขา วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
ปริญญาตรี วิศวกรรมไฟฟ้า เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จาก มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร
ปริญญาเอก ด้านอิเลกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ จาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร
สถานที่ทำงาน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. 2534
ศ. ดร. อมเรศ ภูมิรัตน นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2535 สาขา เทคโนโลยีชีวภาพ
ปริญญาตรี ด้านแบคทีเรียวิทยา จาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
ปริญญาเอก ด้านจุลชีววิทยา จาก มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท สหรัฐอเมริกา
สถานที่ทำงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2535
ศ.เกียรติคุณ ดร. ณัฐ ภมรประวัติ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2536 สาขา วิทยาศาสตร์การแพทย์
ปริญญาตรี แพทยศาสตร์บัณฑิต จาก คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
ปริญญาเอก ปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา
สถานที่ทำงาน มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2537
ศ. ดร. ประเสริฐ โศภน นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2538 สาขา เซลล์ชีววิทยา
ปริญญาตรี สาขาชีววิทยาและกายวิภาคศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยแห่งออสเตรเลียตะวันตก
ปริญญาเอก สาขาเซลล์ชีววิทยาและกายวิภาคศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา
สถานที่ทำงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2538
ศ. ดร. วัลลภ สุระกำพลธร นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2539 สาขา ฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์
ปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมโทรคมนาคม จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ปริญญาเอก ด้านอิเล็กทรอนิกส์ จาก มหาวิทยาลัยเคนท์ สหราชอาณาจักร
สถานที่ทำงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ. 2539
ศ. นพ. ยง ภู่วรวรรณ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2540 สาขา วิทยาศาสตร์การแพทย์ – วิทยาการระบาด
ศ. ดร. ประพนธ์ วิไลรัตน์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2540 สาขา ชีวเคมี
ปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต จาก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถานที่ทำงาน ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสตับอักเสบ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาตรี สาขา เคมี (เกียรตินิยม) จาก มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
ปริญญาเอก สาขา ชีวเคมี จาก มหาวิทยาลัยโอเรกอน สหรัฐอเมริกา
สถานที่ทำงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2540
รศ. ดร. อภิชาต สุขสำราญ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2541 สาขา เคมีอินทรีย์
รศ. ดร. ศกรณ์ มงคลสุข นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2541 สาขา เทคโนโลยีชีวภาพ
ปริญญาตรี สาขา เคมี (เกียรตินิยม) จาก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญาเอก สาขา เคมีอินทรีย์ จาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร
สถานที่ทำงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปริญญาตรี สาขาเภสัขวิทยา จาก คิงส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยลอนดอน
ปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จาก มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา
สถานที่ทำงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2541
ศ. ดร. วันเพ็ญ ชัยคำภา นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2542 สาขา วิทยาภูมิคุ้มกัน
ปริญญาตรี สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จาก คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปริญญาเอก สาขาจุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ้มกันจาก มหาวิทยาลัยอาเดเลด ประเทศออสเตรเลีย
สถานที่ทำงาน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2542
ศ. ดร. สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2543 สาขา เทคโนโลยีพลังงาน
ศ. ดร. จงรักษ์ ผลประเสริฐ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2543 สาขา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมการเกษตร) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปริญญาเอก Production and Processing of Vegetable Raw Material จาก Ecole National Superieur Agronomique de Toulouse ประเทศฝรั่งเศส
สถานที่ทำงาน คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ปริญญาตรี วิศวกรรมบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา) จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาเอก สาขา ด้านวิศวกรรมโยธาสิ่งแวดล้อม จาก มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา
สถานที่ทำงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) พ.ศ. 2543
รศ. ดร. เกตุ กรุดพันธ์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2544 สาขา เคมีวิเคราะห์
ปริญญาตรี วิทยาศาตรบัณฑิต (เคมี) จาก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปริญญาเอก สาขาเคมี จาก มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ
สถานที่ทำงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2544
ศ. ดร. ม.ร.ว. ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2545 สาขาชีวเคมี
ศาสตราจารย์ นพ.สุทัศน์ ฟู่เจริญ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2545 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
ปริญญาตรี B.A. (Hons.) จาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
ปริญญาเอก Ph.D. จาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
สถานที่ทำงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต จาก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปริญญาเอก แพทยศาสตรมหาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยมหิดล
สถานที่ทำงาน สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2545
ศ. ดร. จำรัส ลิ้มตระกูล นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2546 สาขา เคมี
รศ. ดร. สุพจน์ หารหนองบัว นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2546 สาขา เคมี
ปริญญาตรี สาขาเคมี จาก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปริญญาโท สาขา เคมีเชิงฟิสิกส์ จาก มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญาเอกสาขา เคมีเชิงฟิสิกส์ จาก มหาวิทยาลัยอินน์สบรุค (Innsbruck) ประเทศออสเตรีย
Postdoc Karlsruhe University ประเทศเยอรมนี
สถานที่ทำงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปริญญาตรี สาขาเคมี จาก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปริญญาเอก สาขา เคมีคอมพิวเตอร์ จาก มหาวิทยาลัยอินน์สบรุค (Innsbruck) ประเทศออสเตรีย
สถานที่ทำงาน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2546
ศ. นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2547 สาขา วิทยาศาสตร์การแพทย์
ปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถานที่ทำงาน สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ และศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2547
นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2548 สาขา วิทยาศาสตร์การแพทย์
นพ. บุญส่ง องค์พิพัฒนกุล นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2548 สาขา วิทยาศาสตร์การแพทย์
ปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
สถานที่ทำงาน คณบดี คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
สถานที่ทำงาน รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2549
ศ.ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี
ศ.ดร.สมพงษ์ ธรรมพงษา
ปริญญาตรีและโท สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ จาก มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย
ปริญญาเอก สาขาคณิตศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัย Vanderbit ประเทศสหรัฐอเมริกา
สถานที่ทำงาน ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปริญญาตรี
ปริญญาเอก
สถานที่ทำงาน อาจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
登録:
コメントの投稿 (Atom)
0 件のコメント:
コメントを投稿