2007年8月16日木曜日
ความหมายอื่นของ นครราชสีมา ดูที่ นครราชสีมา (แก้ความกำกวม)
จังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย และมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีกชื่อที่เป็นที่รู้จักคือ โคราช มีอาณาเขตติดกับจังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ, จังหวัดบุรีรัมย์, จังหวัดลพบุรี, จังหวัดสระบุรี, จังหวัดนครนายก, จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว
ประวัติศาสตร์
นักลงทุนทั้งในประเทศไทยและต่างชาติ ต่างให้ความสำคัญกับจังหวัดนี้มาก จึงได้ตั้งฉายาให้กับจังหวัดนี้ว่าเป็นมหานครแห่งอิสานเป็นเสมือนเมืองหลวงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะเป็นศูนย์กลางทางด้านต่างๆ ของภูมิภาค ได้แก่ การปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงิน-การธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร ฯลฯ มีคำขวัญของเมืองโคราชว่า มหานครแห่งอิสาน เมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ประตูเชื่อมโยงพันธมิตร สร้างเศรษฐกิจสู่สากล
นครราชสีมาในปัจจุบัน
ปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมา มีประชากรมากเป็นอันดับหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมากเป็นอันดับสองของประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยประชากรกลุ่มใหญ่สองกลุ่มคือ ไทยโคราชและ ไทยอีสาน ชนกลุ่มน้อยได้แก่ มอญ กุย (หรือส่วย) ชาวบน จีน ไทยวน ญวน และ แขก
ไทยโคราช เป็นคนไทยแท้ทั้งเชื้อชาติ และภาษา แต่สำเนียงพูดแปร่งไปบ้าง เดิมถิ่นนี้ชาวพื้นเมืองเป็นละว้า ชาวไทยได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองให้ขุนหลวงพะงั่ว ยกกองทัพมารวบรวมดินแดนแถบนี้เข้ากับกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทอง โปรดฯ ให้กองทหารอยุธยาตั้งด่านอยู่ประจำ และส่งช่างชาวอยุธยามาก่อสร้างบ้านเรือน วัดวาอาราม เป็นอันมาก ชาวไทยอยุธยาได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเป็นอันมากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ชาวอยุธยา ได้อพยพมาอยู่นครราชสีมาอีกระลอกหนึ่งคือ คราวเสียกรุงครั้งที่ 2 และมีชาวไทยชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกได้อพยพเข้ามาเพิ่มด้วย [[ชาวไทยกลุ่มนี้และชาวไทยพื้นเมืองเดิม(เข้าใจว่าเป็นชาวสยามลุ่มน้ำมูล(ไท-เสียม) อาจมี เขมร และ มอญ ปนอยู่ด้วย)สืบเชื้อสาย เป็นชาวไทยโคราช]] และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีสืบทอดกันมา
กลุ่มไทยโคราชเป็นกลุ่มที่แสดงเอกลักษณ์ของเมืองนครราชสีมา เพราะสำเนียงแตกต่างจากลุ่มอื่น เป็นกลุ่มที่พูดภาษาไทยโคราชซึ่งคล้ายคลึงภาษาไทยกลางแต่สำเนียงเพี้ยน เหน่อ ห้วนสั่น เกิ่นเสียง มีคำไทยลาว(อีสาน)ปะปนบ้างเล็กน้อย ชาวไทยโคราชแต่งกายแบบไทยภาคกลาง รับประทานข้าวเจ้า อาหารทั่วไปคล้ายคลึงภาคกลาง ขนบธรรมเนียม ประเพณ๊ และวัฒนธรรมคล้ายไทยภาคกลาง ปัจจุบัน กลุ่มไทยโคราชอาศัยอยู่ทุกอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ยกเว้น บางอำเภอที่มีชาวไทยลาวมากกว่า( บัวใหญ่ ปักธงชัย สูงเนิน) และยังพบชาวไทยโคราช ในบางส่วนของจังหวัดสระบุรี ลพบุรี ชัยภูมิ (อำเภอบำเหน็จณรงค์, จัตุรัส) บุรีรัมย์ (อำเภอเมือง, นางรอง, ละหานทราย)
ลาวเวียง (เวียงจันทน์) หรือ ไทยอีสาน ลาวเวียง ไทยลาว หรือ ไทยอีสาน เป็นกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาทีหลังมีจำนวนมากรองจากไทยโคราชอาศัยอยู่มากในบางอำเภอของจังหวัดนครราชสีมา เช่น อำเภอบัวใหญ่ ปักธงชัย สูงเนิน เป็นต้น ไทยอีสานพูดภาษาอีสาน ขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนชาวอิสานทั่วไป กลุ่มไทยอีสาน อพยพเข้ามาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา หลายรุ่น ส่วนใหญ่อพยพเข้ามาอยู่สมัยสงครามปราบปรามเมืองเวียงจันทร์ สมัยธนบุรี มีการกวาดต้อนครอบครัวลาวเข้ามาอยู่ในหัวเมืองชั้นใน และอพยพเข้ามาโดยสมัครใจเพิ่มขึ้นในระยะหลัง
สำหรับประชากรกลุ่มอื่นเป็นชนกลุ่มน้อย ไม่ขอกล่าวในที่นี้
ประชากร
รถยนต์ จากกรุงเทพฯ เดินทางไปนครราชสีมาได้หลายเส้นทาง เส้นทางที่นิยมที่สุดคือ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ที่สระบุรี ไปจนถึงนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 259 กิโลเมตร อีกเส้นทางคือ จากกรุงเทพฯ ผ่านมีนบุรี ฉะเชิงเทรา พนมสารคาม กบินทร์บุรี ปักธงชัย ถึงนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 273 กิโลเมตร หรืออาจเลือกใช้เส้นทางรังสิต-นครนายก ต่อทางหลวงหมายเลข 33 ไปกบินทร์บุรี แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านวังน้ำเขียว ปักธงชัย เข้านครราชสีมา
รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจาก สถานีขนส่งหมอชิต 2 ไปนครราชสีมาทุกวันและตลอดทั้งวัน รายละเอียดสอบถาม โทร. 0 2936 1880, 0 2936 0657 , 0 2936 2852-66 บริษัทเอกชนที่เปิดบริการเดินรถคือ บริษัท ราชสีมาทัวร์ โทร. 0 44 24 5443 กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 1615 และ บริษัทแอร์โคราช โทร. 0 44 25 2999 กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 2252
สถานีขนส่งที่นครราชสีมามีสองแห่งคือ สถานีขนส่งแห่งที่ 1 ถนนบุรินทร์ โทร. 0 44 24 2899, 0 4426 8899 และสถานีขนส่งแห่งที่ 2 ถนนมิตรภาพ-ขอนแก่น โทร. 0 44 25 6006-9 ต่อ 175, 176 (รถปรับอากาศ) , 178 (รถธรรมดา) www.transport.co.th
รถไฟ มีรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ไปนครราชสีมาทุกวัน รายละเอียดสอบถามที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020 www.railway.co.th
การเดินทางภายในตัวจังหวัด มีรถสองแถวและรถเมล์สายต่างๆ วิ่งบริการภายในตัวเมืองและบริเวณใกล้เคียง โดยแบ่งออกเป็นหลายสายด้วยกัน หากต้องการความสะดวกยิ่งขึ้นลงอาจใช้บริการรถสามล้อถีบ และรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งให้บริการผู้โดยสารในเขตตัวเมือง โดยตกลงราคาก่อนการเดินทาง หากต้องการเดินทางไปต่างอำเภอ สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งแห่งที่ 1 ถนนบุรินทร์ มีทั้งรถสองแถวและรถโดยสารประจำทางให้บริการ ส่วนสถานีขนส่งแห่งที่ 2 นั้นมีรถโดยสารไปเฉพาะอำเภอพิมายและไปด่านเกวียน-โชคชัย
การเดินทางระหว่างจังหวัด รถโดยสารวิ่งบริการระหว่างจังหวัดจะออกจากสถานีขนส่งแห่งที่ 2 (ถนนมิตรภาพ-ขอนแก่น) โดยมีรถจากนครราชสีมาไปยังจังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสานได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ (สายเก่าผ่านนางรอง และสายใหม่ผ่านห้วยแถลง) สุรินทร์ (ผ่านนางรอง-บ้านตะโก) นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารไปยังจังหวัดในภาคอื่นได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี พัทยา ระยอง จันทบุรี สระบุรี อยุธยา นครปฐม สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี หัวหิน ลพบุรี สิงห์บุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ และเชียงราย (ไปจนถึงแม่สาย)
หน่วยการปกครอง
บุคคลที่มีชื่อเสียงจากนครราชสีมา
ท้าวสุรนารี บุคคลในประวัติศาสตร์
ไก่ชน ส.วรพิน
นภา เกียรติวันชัย
พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์
รัตนชัย ส.วรพิน
สกัด พรทวี
อุดมพร พลศักดิ์ - นักกีฬาหญิงคนแรกของประเทศไทย ที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก นักกีฬา
ชัยคุปต์ - นักเขียน
สิทธิชัย โภไคยอุดม - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นักวิชาการ
หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ พระสงฆ์
สุนารี ราชสีมา
สมมาตร ราชสีมา
เสกสรรค์ ศุขพิมาย (เสก โลโซ)
พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ นักร้อง
ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช มีแม่น้ำสำคัญคือแม่น้ำมูล
ตัวเมืองประกอบด้วยประตูเมือง 4 ทิศ คือ ประตูชุมพล (ทิศตะวันตก), ประตูพลแสน (ทิศเหนือ - อีกชื่อคือประตูน้ำ), ประตูพลล้าน (ทิศตะวันออก) และประตูชัยณรงค์ (ทิศใต้-อีกชื่อคือประตูผี) ภายในตัวเมืองมีสระน้ำ 4 สระ คือ สระแก้ว, สระแมว, สระขวัญ และสระบัว
ภูมิศาสตร์
ต้นไม้ประจำจังหวัด: สาธร (Millettia leucantha)
คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน
อักษรย่อ: นม สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
จังหวัดนครราชสีมามีสถาบันการศึกษาชั้นสูงหลายแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล มหาวิทยาลัยรามคำแหง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี วิทยาลัยนครราชสีมา วิทยาลัยสารพัดช่างนครราชสีมา วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีนครราชสีมา วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี วิทยาลัยอาชีวศึกษนครราชสีมา วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ
และมีสถาบันการศึกษาชั้นสูงอื่นอีก เช่น วิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย วิทยาลัยการอาชีพปากช่อง วิทยาลัยการอาชีพบัวใหญ่ วิทยาลัยการอาชีพชุมพวง วิทยาลัยการอาชีพพิมาย วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา [1]เป็นต้น
การศึกษา
สถานที่ท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ห้างสรรพสินค้า
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155, 0 4434 1777-9
ท่าอากาศยานนครราชสีมา โทร. 0 4425 9524
บมจ. การบินไทย (สนามบิน) โทร. 0 4425 5425
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 4425 1818
โรงพยาบาลมหาราช โทร. 0 4425 4990-1
สถานีขนส่งแห่งที่ 1 โทร. 0 4424 2889
สถานีขนส่งแห่งที่ 2 โทร. 0 4425 6006-9
สถานีตำรวจภูธร โทร. 0 4424 2010
สถานีรถไฟ โทร. 0 4424 2044
สำนักงานจังหวัด โทร. 0 4424 3798
登録:
コメントの投稿 (Atom)
0 件のコメント:
コメントを投稿